วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Oliver Sheldon

         Oliver Sheldon
Oliver Sheldon

           Oliver Sheldon มีประสบการณ์ทำงานในการบริหารกองทัพและ Coca Works of Rowntree & Company เขาได้เขียนหนังสือปรัชญาของการจัดการ ในหนังสือเล่มนี้ได้แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดของเขาในการพยายามชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการ (Management) และการบริหาร (Administration)
เครื่องมือนี้คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
1. การบริหาร (Administration)
  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย การวางแผน และประสานงานในหน้าที่ต่าง ๆ
2. การจัดการ (Management)
  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำนโยบายและแผน มาดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้นไว้
3. หน้าที่ในการจัดองค์การ
  เป็นกระบวนการเพื่อประสานงานระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์กร
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
            แนวความคิดของเขาในการพยายามชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการ (Management) และการบริหาร (Administration) นอกจากนี้ยังได้นำแนวความคิดด้านจริยธรรมทางสังคม เข้ามาผสมผสานกับการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เขาได้กระตุ้นให้องค์การทางธุรกิจจำหน่ายสินค้าควบคู่กับการบริการด้วย และได้เสนอแนวความคิดว่าหลักการจัดการทางอุตสาหกรรมที่ดีจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบริการเพื่อสังคม จากแนวความคิดนี้ได้กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจในยุคปัจจุบันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจุดนี้เองทำให้การจัดการยกย่องและยอมรับความเป็นวิชาชีพ
ข้อดีของSheldon
1. กระตุ้นให้องค์การทางธุรกิจจำหน่ายสินค้าควบคู่กับการบริการ
2. เป็นวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจในยุคปัจจุบันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม
3. ทำให้การจัดการยกย่องและยอมรับความเป็นวิชาชีพ
ข้อเสียของ Sheldon
1. งบประมาณในการดำเนินการค่อนข้างสูง
2. สิ้นเปลืองเวลาและบุคลากร
ใช้อย่างไร
           Oliver Sheldon  ชาวอังกฤษได้พัฒนาความคิดในเรื่องการจัดการและการบริหารแบ่งการจัดการ เป็น 3 ประการ
  1. การบริหาร (Administration)
      เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย การวางแผน และประสานงานในหน้าที่ต่าง ๆ
  2. การจัดการ (Management) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำนโยบายและแผน มาดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้นไว้ หน้าที่ในการจัดองค์การ
  3. เป็นกระบวนการเพื่อประสานงานระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์กร 


Henri Fayol

      Henri Fayol
Henri Fayol
ความเป็นมา

             Henry Fayol   เป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสี่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ.1841-1925 เขาเกิดในครอบครัวที่ประกอบธุรกิจขนาดเล็กแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และจบการศึกษาจากโรงเรียน National School of Mines at St.Etience  ในช่วงปี ค.ศ.1860-1866 เขาได้ทำงานเป็นวิศวกร และก้าวมาทำงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการโดยเป็นผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ Fayol ได้มองการบริหารจากทัศนะของผู้เชี่ยวชาญว่าในองค์กรควรมีการทำงานร่วมกัน Fayol มีชีวิตที่ยืนยาว ผลงานของเขาไม่ได้ตีพิมพ์ จนกระทั่งเขาอายุได้ 75 ปี เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขัดแย้งกับแนวคิดของ Taylor ซึ่งในงานเขียนของ  Fayol นั้น ได้เขียนเกี่ยวกับความสำคัญของการบริหารที่ทำให้สามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ Fayol ได้กำหนดว่า ทฤษฎีเป็นการรวบรวมวิธีการและกระบวนการ เพื่อให้มีประสบการณ์มากขึ้น

หลักการบริหาร 14 ข้อ
1.การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)
3.การแบ่งานกันทำ (Division of Work)
4.การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)
5.อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility)
6.ความเสมอภาค (Equity)
7.สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)
8.การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)
9.การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)
10.ความมีระเบียบวินัย (Discipline)
11.ความคิดริเริ่ม (Initiative)
12.ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม
  (Sulxordination of Individual Interest to the General Personnel)
13. ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of Lenore of Personnel)
14. ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Crope)
เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร
Henri Fayol ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ๆ ในกาทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ POCCC  
1.  Planning
2.  Organizing
3.  Commanding
4.  Coordinating
5.  Controliing

เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
  จากหลักการด้านการจัดการของ FAYOL มีลักษณะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้จัดการในองค์การเป็นอย่างมาก Fayol ได้กล่าวว่า  หลักการของเขาไม่ใช่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่าง ๆ หลักการของ fAYOL มีลักษณะเป็นสากลซึ่งต่อมาได้มีการอธิบายขยายความต่อโดย Shelden  Urwick และ barnard
ข้อดี/ข้อเสีย ของเครื่องมือ
ข้อดี....
1.  องค์การมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากที่มีการปรับปรุงกระบวนการบริหาร
2.  สามารถพัฒนาผลผลิตของคนงานให้ดีขึ้นได้
3.  สามารถนำมาใช้ในการบริหารงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย....
1.  มุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานในระดับผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่
การนำไปใช้ :
                    ทฤษฎีการบริหารของ Fayol ยอมรับองค์การที่เป็นทางการ โดยใช้ประโยชน์จากการแบ่งงานกันทำ (Specialization) และเน้นถึงความสำคัญที่ว่าอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบต้องเท่ากัน โดย Fayol ระบุว่าเป้าหมายที่สำคัญขององค์การ คือ ความเป็นระเบียบ ความมั่นคง ความคิดริเริ่ม และความสามัคคี นักทฤษฎีการบริหารจะต้องเป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับนักทฤษฎีระบบองค์การขนาดใหญ่แล้ว สิ่งที่พวกเขาสนใจและให้ความสำคัญ คือหลักการและแนวคิดสำหรับการประสบความสำเร็จขององค์การซึ่งเป็นทางการ

Henry L. Gantt

         Henry L. Gantt
Henry L. Gantt
ความเป็นมา  
        Gantt  เป็นวิศวกรเครื่องกลที่มีความคิดเช่นเดียวกับ Taylor และได้ทำงานร่วมงานกับ Taylor   ที่บริษัท Midvale Steel Commpany  ในปี  1887  และสร้างผลงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่วปี 1901  เขาได้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมของเขาเอง เขาเชื่อในแนวคิดการปฏิบัติการตามหลักวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับ Taylor โดย Gantt ทำงานเป็นที่ปรึกษาในบริษัทต่าง ๆ มากมายในการคัดเลือกคนงานแบบวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาระบบจูงใจด้วยโบนัส เขาเน้นความต้องการและความสนใจทั้งฝ่ายบริหารและคนงาน การร่วมมือกันอย่างกลมกลืน

           Gantt เป็นที่รู้จัะกดีที่สุดในการพัฒนาวิธีการอธิบายแผนโดยกราฟเรียกว่า ผังแกนต์ (Gantt Chart)  และสร้างการควบคุมการจัดการที่ดีขึ้น ส่วนต้นทุนเขาเน้นความสำคัญของเวลาเช่นเดียวกับต้นทุนในการวางแผนและการควบคุมงาน ทำให้ผัง Gantt มีชื่อเสียง และนำมาใช้อย่างกว้างขวางเป็นรูปแบบของเทคนิคในปัจจุบัน
โมเดลนี้ใช้เพื่อ
          gantt chart ใช้ในการวางแผนระยะเวลาที่ใช้ของงานแต่ละงานของโครงการ  เราจะเห็นรายละเอียดว่าโครงการนี้มีงานย่อยๆอะไรบ้าง และแต่ละงานใช้เวลาเท่าไหร่ งานไหนมาก่อนมาหลัง

gantt chart ใช้ในการวางแผนระยะเวลาที่ใช้ของงานแต่ละงานของโครงการ  เราจะเห็นรายละเอียดว่าโครงการนี้มีงานย่อยๆอะไรบ้าง และแต่ละงานใช้เวลาเท่าไหร่ งานไหนมาก่อนมาหลัง

       ข้อดีของโมเดล
<!--[if !supportLists]-->•    <!--[endif]-->ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น          
<!--[if !supportLists]-->•    เป็นเครื่องมือที่ใช้ประโยชน์ในการวางแผนและแสดงตารางเวลาของโครงการ
<!--[if !supportLists]-->•    เป็นเครื่องมือที่ช่วยติดตามความคืบหน้าของโครงการ
ข้อเสียของโมเดล
ไม่สามารถบอกได้ว่าถ้ากิจกรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเกิดความล่าช้า  แล้วจะมีผลกระทบกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นทีหลังอย่างไร
จัดทำอย่างไร
    1. แจกแจงรายละเอียดกิจกรรมของแผนงาน โดยแต่ละงานให้ระบุวันเริ่มต้น ประมาณการระยะเวลาที่ใช้ มีงานใดบ้างที่ต้องเริ่มพร้อมกัน หรือมีงาน ใดบ้างที่ลำดับก่อนหลัง ซึ่งหากมีลำดับต้องระบุความสัมพันธ์ไว้ด้วย
    2. สร้าง Gantt Chart 
    3. วิเคราะห์การใช้ทรัพยากรของกิจกรรมต่าง ๆ  ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
ปัจจุบันได้มีการใช้โมเดลนี้กันอย่างแพร่หลาย โดยนำ Microsoft Project



Douglas Murray McGregor

Douglas Murray McGregor
ชื่อทฤษฎี : ทฤษฎีเอ็กซ์และทฤษฎีวาย (Theory X  and Theory Y)
             Douglas McGregor  ได้เขียนหนังสือ "The Human side of Enterprise" โดยเปรียบเทียบทางเลือกที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริการจะต้องเผชิญ

หลักการและแนวคิด
     ทฤษฎีของแม็กซ์เกร์เกอร์ มีฐานคดีในการมองคนที่อยู่ในองค์การแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

      1.  ทฤษฎี X  ถือว่า
                -  คนโดยทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน
                -  ขาดความกรตือรือร้น ไม่มีความรับชอบ ปรารถนาที่จะเป็นผู้ตามมากกว่า
                -  เห็นแก่ตัว เพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ
                - ไม่ฉลาด
 2.  ทฤษฎี Y : เห็นว่า
               -  คนชอบทำงาน ไม่ได้เป็นคนเกียจคร้าน
               -  การควบคุมภายนอก ไม่ใช่เป็นวิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้
               -  ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานเข้ามาตามศักยภาพ เป็นรางวัลที่มีความสำคัญที่จะทำให้คนมีความผูกพันอยู่กับองค์การ
              -  คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป
              -  คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ
              -  ในปัจจุบันศักยภาพของคนยังไม่ได้รับการนำไปใช้

การนำไปใช้

     ทฤษฎี X ก็คือ ภาพพจน์ของคน ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอำนาจ การมอบหมายอำนาจ หน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงาน โดยยึดเป้าหมาย จึงเห้ได้ว่าข้อเสนอการปรับปรุงงานของ McGragor  เป็นการย้ำให้เห็นความสำคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมขององค์การ ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของมนุษย์ นิยมที่จะเห็นว่าคนมาก่อนองค์การ
     มนุษย์นิยมต้องการหาจุดที่พบกันได้ แต่ต้องการรักษาความมีเสรีภาพไว้ การมองคนว่าเป็นประเภท X หรือ Y นั้นเป็นการช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทำให้รู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดี หรือนายที่ดี ซึ่งเรียกการมองแบบนี้ว่า Polarization



Step of strategic planning process)



สวัสดีครับ สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งที่  2  สำหรับการฝึกเขียน   บทความผ่าน  blog  สำหรับครั้งนี้ผมมีบทความเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Steps of strategic planning process) มาฝากท่านผู้อ่าน ซึ่งถือว่าสำคัญมากเลยทีเดียวโดยเฉพาะผู้บริหาร เนื่องด้วยปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันค่อนข้างสูง  จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องอาศัยชั้นเชิงในการบริหารที่เหนือกว่าคู่แข่ง  หรืออาศัยความว่องไวในการปรับตัวให้ทันต่อสภาวะการแข่งขันที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้นประกอบด้วยองค์ประกอบ  5 ประการ ดังภาพ :

Fig. 2 : Step of strategic planning process

ขั้นตอนที่ 1. กำหนดทิศทาง (Formulating organization’s mission/Goal setting)
         เป็นการกำหนดทิศทางขององค์การจะประกอบด้วย  การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision ) การกำหนดภารกิจ ( Mission ) และการกำหนดเป้าหมาย (Gold) 
ขั้นตอนที่ 2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Evaluation of organizational resources & environmental opportunities and threats) 
          ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก  และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง  จุดแข็ง (Strength –S)  จุดอ่อน (Weakness –W) โอกาส (Opportunity –O)  และอุปสรรค (Threat- T) 
ขั้นตอนที่ 3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
          การกำหนดกลยุทธ์ เป็นการพัฒนาแผนระยะยาวบนรากฐานของโอกาสและอุปสรรค  ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก  และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนที่ได้จาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน  โดยองค์การจะต้องกำหนดและเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับองค์การที่สุด  โดยคำนึงถึงระดับที่แตกต่างกันของกลยุทธ์ด้วย  3 ระดับ คือ  กลยุทธ์ระดับองค์การ (Corporate Strategy)   กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) และกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational Strategy)
ขั้นตอนที่ 4. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation) 
           การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือกระบวนการที่ผู้บริหารแปลงกลยุทธ์และนโยบาย  ไปสู่แผนการดำเนินงาน กำหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆ เช่น ด้านงบประมาณ  หรือวิธีการดำเนินงาน  ซึ่งกระบวนการนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภายในด้านวัฒนธรรม   โครงสร้าง  หรือระบบการบริหาร  เพื่อให้สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ขั้นตอนที่ 5. การประเมินผลและการเลือกทางเลือกกลยุทธ์ (Evaluation and choosing alternative strategy)
             การประเมินผลกลยุทธ์และเลือกทางเลือกกลยุทธ์เป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม  ตรวจสอบ 
            ประเมินผลกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ  ทั้งนี้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้นมักจะเกิดข้อผิดพลาดที่ต้องการการ 
            ปรับปรุง  เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์นั้นจะก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ตรงตามแผนที่ได้ตั้งไว้หรือไม่
  1. Quantitative Strategie planning Matrix.s

สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่านวันนี้ผมจะคุยเกี่ยวกับการวางแผนแบบจับคู่เชิงปริมาณ โดยหลังจากการกำหนดกลยุทธ์เรียบร้อยแล้วการปฏิบัติตามกลยุทธ์เป็นขั้นตอนต่อมา ดังภาพ
 FIG.5 Quantitative  Strategie  planning Matrix.s  Soure “ David,2003 มาประกอบการปฏิบัติ อธิบาย ได้ดังนี้


Rezaian,:2008 ได้ให้ความหมายของ  5strategyImplementation หมายถึงการปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy Implementation) ควรมีลักษณะคือ 
1.กลยุทธ์ควรเป็นไปเพื่อโครงสร้างองค์กรที่ดี 
2.กลยุทธ์ควรมีลักษณะของการประสานขององค์กรในระดับการบริหารระหว่างความเชี่ยวชาญ ทรัพยากร และกำลังการผลิต 
3.กลยุทธ์ควรมีลักษณะที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมเพื่อกลยุทธ์ใหม่ขององค์กร 
4.กลยุทธ์ควรเป็นไปเพื่อความร่วมมือและความเห็นที่ตรงกันในหมู่ผู้บริหารและพนักงานในทุกภาคส่วนขององค์กร 
ที่มาของข้อมูล  (Rezaian, 2008)
Brock &Barry, 2003 มีความเห็นว่า ความสำเร็จในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ จะขึ้นอยู่กับระบบการวางแผนการสนับสนุนที่เหมาะสม ผู้จัดการหรือผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการในองค์กรต้องการความแปรผันของจำนวนและประเภทของสารสนเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ เพราะมีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์ โอกาส อุปสรรค จุดแข็ง และจุดอ่อน

สวัสดีครับ  ครั้งนี้เป็นครั้งที่  4  สำหรับการฝึกเขียนบทความผ่าน blog  ในครั้งนี้  จะมาคุยเกี่ยวกับกับความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่น กับการวางแผนเชิงกลยุทธ์  และการปฏิบัติงานขององค์กร ซึ่งนับว่ามีความสำคัญไม่แพ้กับ ส่วนอื่น ๆ เลย สำหรับผู้บริหารทุกท่าน  ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการบริหารจัดการให้ประสบความสำเร็จ จะประกอบด้วย  6 ด้าน ดังภาพ : Source: (Rudd et al,2008).
Fig. 6: The relationship between flexibility, strategic planning and organizational performance. Source: (Rudd et al, 2008).
ความยืดหยุ่นที่มีอิทธิพลในการไกล่เกลี่ย มีทั้งหมด 6 ด้าน ประกอบด้วย
            1) ความยืดหยุ่นด้านการปฏิบัติการ (Operational Flexibility)  คือ ความสามารถขององค์กรในการปรับตัวได้เร็วต่อข้อเสนอของตลาด ส่วนประสมของสินค้าหรือบริการ และกำลังการผลิตสินค้า 
            2) ความยืดหยุ่นด้านการเงิน (Financial Flexibility) คือ ความสามารถขององค์กรในการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าถึงและเตรียมพร้อมกับทรัพยากรทางการเงิน 
            3) ความยืดหยุ่นด้านโครงสร้าง (Structural Flexibility)  คือความสามารถขององค์กรในการปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ 
            4) ความยืดหยุ่นด้านเทคโนโลยี (Technology Flexibility)  คือความสามารถในการเลือกเทคโนโลยีการผลิตของสายผลิตภัณฑ์กับความต้องการในภาวการณ์แข่งขัน
            5) การดำเนินการทางด้านการเงิน (Financial performance)   คือ เป็นความยืดหยุ่นด้านการปฏิบัติการ และความยืดหยุ่นด้านการเงิน
            6) การดำเนินการที่ไม่ใช่ด้านการเงิน (Non-financial performance)   คือ  เป็นความยืดหยุ่นด้านโครงสร้าง และความยืดหยุ่นด้านเทคโนโลยี
1.            

สวัสดีครับ  ครั้งนี้เป็นครั้งที่  3 สำหรับการเขียน blog ของผม สำหรับครั้งนี้ผมจะมาคุยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เริ่มต้นที่นำไปสู่ความสำเร็จในการวางแผนเชิงกลยุทธ์  (Fig 1: Factors associated  with the successful initiation of strategic planning) ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับผู้บริหารจะต้องพิจารณาปัจจัยภายในและภายนอกต่างๆอย่างรอบด้านซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะการบริหาร (Management Characteristics),พลวัตรขององค์กร (Firm Dynamics),และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment  Factors) ดังภาพ  Source: (Harris and Ogbonna, 2006)

            การวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีปัจจัยสำคัญอยู่  8 ประการ จากคุณลักษณะ 3 ด้าน
1) Management Characteristics : ลักษณะด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย  2 ปัจจัย คือ 
              1.1) Long-term Orientation : ว่าด้วยเรื่องของการปรับตัวหรือเตรียมความพร้อมของบริษัท กล่าวคือ ในการวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น บริษัทควรตีกรอบการบริหารจัดการว่าบริษัทจะกำหนดทิศทางของบริษัทอย่างไร ทั้งในส่วนที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้และในอนาคตข้างหน้า เริ่มต้นจากมองสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว มีผลกระทบหรือผลตอบแทนใดบ้างส่งผลต่อบริษัท ทั้งที่น่าจะส่งผลดีกับบริษัทถึงแม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยก็ตามที และมองให้ไกลตัวออกไปว่าในอนาคตบริษัทจะมุ่งไปในทิศทางไหน และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำแผนในอนาคตต่อไป
                1.2) Perception of past Success : ว่าด้วยเรื่องของการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาบริษัทที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพขอการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดผลลัพธ์เดิมที่ส่งผลไม่ดีต่อบริษัทซึ่งอาจนำมาซึ่งวิกฤติได้ อาจกล่าวได้ว่าการหวนกลับไปดูข้อมูลที่ผ่านมาของบริษัทเป็นยิ่งกว่าการเริ่มต้นการวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์
2) Firm Dynamics :  ลักษณะของธุรกิจ ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ
              2.1) Competitor Orientation : การเข้ามาของคู่แข่งขันเป็นเรื่องสำคัญอีกประการที่บริษัทจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดเเข็งของบริษัท  ทั้งนี้บริษัทสามารถใช้เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์ตนเองและคู่แข้งขันควบคู่กันไป และนำไปสู่การวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับบริษัท
               2.2) Cultural Entrenchment : การสร้างวัฒนธรรมในการทำงาน เป็นสิ่งที่บริษัทมุ่งเน้นที่จะดำเนินการ เพื่อให้มีเกิดการร่วมมือและมุ่งสร้างความเข้มแข็งของบริษัท หากบริษัทกำหนดทิศทางของบริษัทไม่ชัดเจนก็ย่อมส่งผลต่อการวางแผนได้เช่นกัน
              2.3) Resource Richness : ความมั่งมีของทรัพยากรของบริษัท เป็นปัจจัยที่ช่วยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของบริษัท ส่วนใหญ่บริษัทส่วนใหญ่จะมุ่งใหัความสำคัญไปที่เรื่องของการจัดการทางการเงิน การบริหารจัดการเวลา ซึ่งต้องมีมากพอในช่วงเริ่มต้นก่อนการวางแผนที่ต้องสอดคล้องกับผลการดำเนินงานและผลกำไรอย่างต่อเนื่อง

             2.4) Anti-planning Political Behavior : นโยบายทางการเมือง เป็นอีกปัจจัยที่หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดความขัดแย้ง อาจส่งผลให้แผนอาจหยุดชะงัก ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท และหากบริษัท     
3) Environmental Factor : ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย  2 ปัจจัย คือ
            3.1) Competitive Intensity : ความหนาแน่นในการแข่งขัน เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการวางแผนที่ต้องอาศัยการศึกษาข้อมูล แสวงหาโอกาสทางการแข่งขัน และหาเงื่อนไขที่ดีกว่า เพื่อนำมาวาแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เหนือคู่แข่งขัน
             3.2) Industry-wide Mindset :  เปิดกว้างทางความคิดหรือเปิดรับสิ่งใหม่ ถือเป็นการสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงข้อมูลต่างที่ไกลตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์กับบริษัท เป็นการลงทุนที่น้อยแต่สามารถสร้างความเข้มเเข็งให้กับบริษัทนำมาซึ่งการวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ 

1.             The five competitive forces that shape strategy

Source:(Porter,2008)
  1.  
   สวัสดีครับ เป็นครั้งแรกของผมกับการฝึกเขียนบทความผ่าน Blog เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน สำหรับบทความครั้งแรกสำหรับผมขอแนะนำเครื่องมือที่สำคัญที่นักการตลาดจะต้องทราบนั้นคือ Five Forces Model นั่นเอง ท่านผู้อ่านคงสงสัยว่า Five Forces Model คืออะไร?  Five Forces Model คือ Model ที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันที่เกิดจากแรงทั้งห้า ซึ่งถูกนำเสนอโดย Michale E.Porter กูรูทางด้านการวางกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ของ Harvard Business School (แหล่งที่มา:http://www.achallenges.com)
3.                                         Five Forces Model เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ธุรกิจ และทำให้เกิดมุมมองของการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน และหาจุดเด่นของธุรกิจของเรานั่นเอง  เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพในการทำความเข้าใจสถานการณ์ธุรกิจขององค์กร ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เข้าใจทั้งความรุนแรงของการแข่งขันในสถานการณ์ปัจจุบัน และความเข้มแข็งของตำแหน่งทางการตลาด  หลายคนคงสงสัยว่า Five Forces Model ประกอบด้วย 5 ปัจจัยอะไรบ้าง ?
4.                                         เครื่องเมือที่ชื่อ  Five Forces Model จะประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลักคือ
5.                 1.       การแข่งขันกันระหว่างคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Rivalry Among Current Competitors)
6.                 2.      อำนาจต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers)
7.                 3.      อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ/ลูกค้า  (Bargaining Power of Buyers/Customers)
8.                 4.      ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of Substitute Products or Services)
9.                 5.      ภัยคุกคามจากคู่แข่งขันรายใหม่ (Threat of New Entrance)
10.                                    จากปัจจัยข้างต้นของเครื่องมือ Five Forces Model จะเห็นได้ว่าเครื่องมือดังกล่าวถือเป็นปัจจัยที่นักการตลาดจะต้องนำมาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) ระดับจุลภาค (Micro) เนื่องจากปัจจัยทั้ง 5 ถือเป็นสภาพแวดล้อมที่นักการตลาดไม่สามารถควบคุมได้อีกประเภทหนึ่ง แต่นักการตลาดจะต้องวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของการทำธุรกิจเพื่อให้ทราบถึงสภาวะที่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ดำรงอยู่ นอกจากนี้แล้วเพื่อทำให้ธุรกิจของเราสามารถปกป้องตนเองให้พ้นจากสิ่งรอบข้างที่มีผลต่อการทำธุรกิจของเรา หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือทำอย่างไรก็ได้ให้ปัจจัยทั้ง 5 มีผลในแง่บวกหรือเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจของเรานั่งเอง
  1.             Five Force Model ของ Michale E.Porter  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ และประเมินศักยภาพการทำกำไรในอุตสาหกรรม ด้วยวิธีการประเมินความสมดุลของพลังในการต่อรองทางธุรกิจในสถานการณ์ทั่วไป