ABC (Activity based costing)
1. หลักการ/ แนวคิด/ ประวัติความเป็นมา
ต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity based costing : ABC) เป็นแนวคิดของระบบการบริหารต้นทุนแบบใหม่ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ผู้บริหารหันมาให้ความสนใจกับการบริหารกิจกรรมและต้นทุนที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ และถือว่ากิจกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดต้นทุน ส่วนผลิตภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่ใช้กิจกรรมต่าง ๆ
2. เครื่องมือนี้คืออะไร/ มีองค์ประกอบอะไร
การบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม (ABC) เป็นวิธีคิดต้นทุนแบบใหม่โดยการมองไปที่กิจกรรมที่สินค้าหรือบริการนั้น ๆ การคิดต้นทุนแบบ ABC นิยมใช้กันมากกับนักบริหารและที่ปรึกษาในการคำนวณช่องทางการรั่วไหลของต้นุทนของบริษัท การคิดต้นทุนตามวิธีการดังกล่าวเป็นก้าวแรกของการบริหารแบบยึดถือกิจกรรมเป็นหลัก ที่เรียกว่า "Activity-based management" หรือ ABM โดยมีองค์ประกอบ คือ
1. การวิเคราะห์และระบุกิจกรรม
2. การคำนวณต้นทุนกิจกรรม
3. การวิเคราะห์และระบุตัวผลักดันต้นทุนกิจกรรม
4. การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์
3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
การบัญชีต้นทุนกิจกรรม (ABC) เป็นเครื่องมือใช้เพื่อการควบคุม (Controlling) ในองค์กรสำหรับผู้บริหาร โดยปัจจัยที่บ่งชี้สำหรับองค์กรที่ต้องนำ ABC มาใช้ คือ
1. ต้นทุนการดำเนินงานสูงกว่าองค์กรที่อยู่ในระดับเดียวกันหรือคู่แข่งขัน
2. ฝ่ายจัดการตระหนักถึงความไม่ถูกต้องของนโยบายและกลยุทธ์ด้านราคา
3. การวัดผลการปฏิบัติงานยังไม่ได้ให้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่เพียงพอ
4. ข้อดี-ข้อเสียของเครื่องมือ
ข้อดี.....
-ช่วยให้การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์/ บริการมีความถูกต้อง
- ช่วยการพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- ช่วยในการวัดผลปฏิบัติงานของกิจการ
- ช่วยในการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย
- ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ
ข้อเสีย...
-มีค่าใช้จ่ายมากเนื่องจากต้องจัดทำแผนภูมิแสดงขบวนการผลิตแบ่งแยกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ
- ต้องหาเอกสารหรือจดรายงานความสัมพันธ์ของตัวผลักต้นทุนกับกิจกรรมทุกกิจกรรม ส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลา
5. ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1. เลือกงานที่จะคำนวณต้นทุนเสียก่อน จากนั้นกำหนดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องรวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่กิจกรรมทั้งหมดต้องใช้
2. กำหนดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของกิจกรรมทางอ้อมที่เกี่ยวข้อง
3. กำหนดจำนวนทรัพยากรแต่ละชนิดที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม
4. คำนวณต้นทุนทางอ้อมรวมของแต่ละงานนั้น ๆ
5. คำนวณหาต้นทุนทางอ้อมต่อหน่วยต่องาน
6. มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร /กรณีศึกษา
5. ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1. เลือกงานที่จะคำนวณต้นทุนเสียก่อน จากนั้นกำหนดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องรวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่กิจกรรมทั้งหมดต้องใช้
2. กำหนดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของกิจกรรมทางอ้อมที่เกี่ยวข้อง
3. กำหนดจำนวนทรัพยากรแต่ละชนิดที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม
4. คำนวณต้นทุนทางอ้อมรวมของแต่ละงานนั้น ๆ
5. คำนวณหาต้นทุนทางอ้อมต่อหน่วยต่องาน
6. มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร /กรณีศึกษา
- งานวิจัยโชติกา ทองสุโชติ (2552) ศึกษาการจัดการควบคุมสินค้าคงคลัง โดยวิธี ABC Analysis ของธุรกิจรับเหมาะก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท เอ.ซี.เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ดีไซน์ จำกัด
- งานวิจัย :กฤษณี แสงสว่าง (2554) ศึกษาการจัดการคลังสินค้าโดยทฤษฎี ABC Analysis : กรณีศึกษา บริษัท ไทยกุลแซ่ (ประเทศไทย) จำกัด
คุณากร ดำนิล DBA04
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น