วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Blueprint for Change

                              Blueprint for Change

1.หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
    -  ในกระบวนการของการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงให้มุ่งเน้นการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยคำนึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าจะเป็นประชาชนผู้รับบริการ ข้าราชการ พนักงาน หรือสังคมส่วนรวม
    -  ทฤษฎีที่นำมาปรับใช้ คือ การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ องค์กรที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ (Strategy-Focus Organization)  เป็นแนวคิดของนักคิดชาวอเมริกัน Robert Kaplan และ David Novid Norton 
2.  เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร
       ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change)  หมายถึง การวางแผนการดำเนินการต่าง ๆ ที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามเป้าหมาย
3.  เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
      เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการให้เกิดความพร้อมในการสนับสนุนและผลักดันในยุทธศาสตร์ส่วนราชการเกิดผลทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน  3  ประเด็น คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพ และการเสริมสร้างสมรรถนะองค์กร
4.  ข้อดี-ข้อเสีย
         ข้อดี........
-เกิดการสร้างตัวแบบการดำเนินงาน (operating model) และออกแบบกระบวนการในอนาคต (to-be process mapping) ที่มีความชัดเจน
-มองเห็นภาพรวมของขั้นตอนหรือกระบวนงานที่จะต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันไปตามกลยุทธ์ต่าง
-สามารถวางแผนการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพบุคลากร การยกระดับขีดสมรรถนะและคุณภาพองค์กรโดยรวม
                   -ปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์การมีแผนและเป็นระบบมากขึ้น
         ข้อเสีย........
เน้นเรื่องการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process) เพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงมิติอื่น
ต้องใช้เอกสารจำนวนมาก และการประเมินภายนอกยังเป็นเพียงการประเมินจากเอกสาร
- Blueprint for Change เป็นเครื่องมือที่บังคับใช้กับทุกส่วนราชการ ทำให้ส่วนราชการอาจเกิดความรู้สึกว่าต้องการทำตามแบบฟอร์มไปเท่านั้น แต่ยังไม่ได้มีผลต่อการปรับปรุงองค์การอย่างแท้จริง

คุณากร   ดำนิล DBA 04

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น