Re-engineering
Michael Hammer and James Champy
แนวความคิดของ Adam Smith ไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจปัจจุบัน ด้วยสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากปัจจัยผันแปร 3 ประการคือ
1. ความสำคัญของลูกค้า (Customer)
2. สภาพการแข่งขัน (Competition)
3. การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Change)
Re-engineering หมายถึง การพิจารณาหลักการพื้นฐานและการคิดแบบขึ้นใหม่ ชนิดถอนรากถอนโคนของกระบวนการธุรกิจเพื่อบรรลุซึ่งผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ โดยใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัยและสำคัญที่สุด ซึ่งได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ การบริการและความรวดเร็ว
องค์ประกอบ มีปัจจัย 4 ประการ
1. พื้นฐาน (Fundamental)
2. ถอนรากถอนโคน (Radical)
3. ยิ่งใหญ่ (Dramatic)
4. กระบวนการ (Processes)
ผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำ Re-engineering
1. ผู้นำ (Leader)
2. เจ้าของกระบวนการ (Process Owner)
3. ทีม Re-engineering (Re-engineering Team)
4. คณะกรรมการผลักดัน (Steering Committee)
5. หัวเรือใหญ่ในการทำ Re-engineering (Re-engineering Czar)
ขั้นตอนการทำ Re-engineering
1. Re-think
2. Re-design
3. Re-tool
4. Re-train
ข้อดีของการทำ Re-engineering
- ทำให้บุคลากรของหน่วยงานสามารถทำงานได้หลาย ๆ ช่วงการบังคับบัญชาสั้นลง
- ด้านอำนาจและความรับผิดชอบ ทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น
- สายการบังคับบัญชา มีการเปลี่ยนมือจากคน ๆ เดียวมาเป็นคนหลายคน
- สามารถลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานลงได้
- กรทำงานภายในองค์การจะเกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้้น
- ก่อให้เกิดการขยายงานอย่างเป็นระบบ
- ก่อให้เกิดการประหยัดในการดำเนินการทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม
- มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญอันจะนำไปสู่ให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น
- เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมดในการทำงาน (Holistic approach)
- เจ้าหน้าที่หรือพนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น
คุณากร ดำนิล DBA 04
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น